make a website for free

7 - Eleven Model

ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวังจันทร์วิทยา

        การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวังจันทร์วิทยา ได้น้อมนำศาสตร์พระราชา ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 7 หลักทรงงาน ได้แก่
1) ศึกษาอย่างเป็นระบบ (Study information and details systematically) 
2) ภูมิสังคม (Socio-geography) 
3) ระเบิดจากข้างใน (Explode from inside)  
4) ไม่ยึดติดตำรา (Do not rely on textbooks) 
5) อธรรมปราบอธรรม (Use injustice to suppress injustice) 
6) การมีส่วนร่วม (Participation) 
7) ทำงานแบบองค์รวม (Holistic) 

Mobirise
7-Eleven Model

กระบวนการพัฒนานวัตกรรม

กระบวนการพัฒนานวัตกรรม 7- eleven ของโรงเรียนวังจันทร์วิทยา มีวัตถุประสงค์

1. เพื่อให้นักเรียนได้รับการดูแล ช่วยเหลือ ส่งเสริม ป้องกันและแก้ไขได้ ตามศักยภาพและความต้องการ
2. เพื่อพัฒนาให้ครูและบุคลากรของโรงเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเทคนิค ทักษะ กระบวนการ และความสามารถในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ
3. เพื่อให้นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามความคาดหวังของโรงเรียน ครู ผู้ปกครองและชุมชน จากการดูแลนักเรียนของครูที่ปรึกษา
4. เพื่อประสานความร่วมมือการแก้ไขปัญหาและพัฒนานักเรียนระหว่าง บ้าน โรงเรียนและชุมชน
5. เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถของนักเรียนเต็มตามศักยภาพ
6. เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้กรอบแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และนำมาปรับใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้ และเรียนรู้อย่างมีความสุขs.

การออกแบบนวัตกรรม

Mobirise

1. ศึกษาอย่างเป็นระบบ (Study information and details systematically) คือ การศึกษาข้อมูลรายละเอียด ของนักเรียนอย่างเป็นระบบ โดย กำหนดแผนและนโยบายการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้เกิดประสิทธิภาพ สร้างความตระหนัก ให้ความรู้ด้านกระบวนการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตลอดเวลาแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา วางแผนการดำเนินงานเพื่อเข้าถึงการรู้จักนักเรียนรายบุคคล

2. ภูมิสังคม (Socio-geography) คือ การศึกษาข้อมูลในทุกมิติ โดย การรวบรวมข้อมูล สภาพภูมิประเทศ สภาพสังคม การคมนาคม วัฒนธรรมประเพณี การประกอบอาชีพครอบครัวและชุมชน พื้นฐานความเป็นอยู่ของนักเรียนแต่ละพื้นที่ 

Mobirise

3. ระเบิดจากข้างใน (Explode from inside) คือ สร้างจิตสำนึกการทำงานของครูด้วยหัวใจ โดย ครูทุกคนมีใจเมตตา มีจิตวิญญาณ และความเสียสละ พร้อมที่จะดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้ได้มากที่สุด เต็มที่ เต็มความสามารถ ตลอดเวลา

Mobirise
Mobirise

4. ไม่ยึดติดตำรา (Do not rely on textbooks) คือ ยืดหยุ่นตามสถานการณ์และความจำเป็นที่ประสบ โดยการดำเนินงานแม้ว่าจะมีการกำหนดขั้นตอนและกฎกติกา แต่ปัญหาที่พบ บางครั้งไม่สามารถทำตามกฎกติกาที่กำหนดไว้ได้ จึงต้องมีความยืดหยุ่น ต่อสภาพและสถานการณ์ ตามความเหมาะสม ความจำเป็น ข้อจำกัด เป็นกรณีๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่นักเรียนตลอดเวลา

Mobirise

5. อธรรมปราบอธรรม (Use injustice to suppress injustice) คือ สร้างจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็ง โดย การนำนักเรียนที่มีภาวะผู้นำ แต่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม เบี่ยงเบนในบางด้าน มาส่งเสริม ดึงพรสวรรค์และความสามารถพิเศษ มารับผิดชอบให้มีหน้าที่และบทบาทในการเป็นแกนนำของห้องเรียนเพื่อดูแลช่วยเหลือเพื่อนๆ เพราะความสามารถพิเศษเป็นจุดเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีของนักเรียน

Mobirise

6. การมีส่วนร่วม (Participation) คือ โรงเรียนใช้หลักคิดทำงานร่วมกัน สานความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน โดย การนำภาคีเครือข่าย เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครู เครือข่ายผู้ปกครอง ครูนอกโรงเรียน พระสงฆ์ ทหาร ตำรวจ แพทย์ พยาบาล อาสากู้ภัย เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมจัดการศึกษาอันเป็นหน้าที่ของทุกภาคส่วน ด้วยระบบการสื่อสารตลอดเวลา

7. ทำงานแบบองค์รวม (Holistic) คือ การส่งเสริมพัฒนาความสามารถและศักยภาพของนักเรียนทุกมิติ โดย ส่งเสริมนักเรียนทุกด้าน ทั้งการเรียน ดนตรี กีฬา ความสามารถพิเศษ ทักษะชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กระบวนการทำงานของครูที่ปรึกษา หัวหน้าระดับ ฝ่ายปกครอง ผู้ปกครองเครือข่าย ครูนอกโรงเรียน มีการประสานงานกันอย่างเป็นระบบตลอดเวลา
* eleven คือ การขับเคลื่อนการทำงานของครูตลอดเวลา 

Mobirise

การดำเนินการพัฒนานวัตกรรม

        โรงเรียนวังจันทร์วิทยาได้ดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามขั้นตอนของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 ขั้นตอน ดังนี้ 

        1) มีวิธีการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ซึ่งครูที่ปรึกษาต้องเข้าใจและรู้จักนักเรียนได้ถูกต้องชัดเจน โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ เช่น ระเบียบสะสม แบบประเมินพฤติกรรม การสัมภาษณ์ บันทึก ประวัติของนักเรียนและการเยี่ยมบ้าน โดยครูที่ปรึกษาใช้จิตวิญญาณของความเป็นครู คือ การรักและเมตตาต่อศิษย์

        2) มีวิธีการคัดกรองนักเรียนอย่างถูกต้อง โดยใช้หลักการวินิจฉัยจากข้อมูลโดยรวมเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่นักเรียนมากที่สุด และผลการคัดกรองหรือพฤติกรรมของนักเรียนต้องรักษาไว้เป็นความลับ เมื่อคัดกรองนักเรียนได้แล้วย่อมสามารถหาวิธีที่จะส่งเสริมช่วยเหลือนักเรียนได้ตามความจำเป็นและความต้องการ

        3) มีกิจกรรมส่งเสริม พัฒนานักเรียนทุกกลุ่ม โดยให้ความสำคัญและคำนึงถึงความสามารถพิเศษที่สร้างพฤติกรรมเชิงบวก เพื่อพัฒนานักเรียน โดยครูจัดกิจกรรมตามความต้องการของนักเรียน เช่น การส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ กิจกรรมชุมนุม กิจกรรมดนตรี ศิลปะ และกีฬา และกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ เป็นต้น

        4) มีการจัดกิจกรรมที่ป้องกันและแก้ไขปัญหา เมื่อคัดกรองนักเรียนเรียบร้อยแล้วจะพบพฤติกรรมต่าง ๆ ของนักเรียนที่ไม่เหมาะสมต่างกัน ครูจำเป็นต้องใช้ทักษะการให้คำปรึกษาเฉพาะกรณีๆ ไป โดยแสดงให้นักเรียนเห็นถึงความรัก ความเข้าใจ ความเป็นห่วง และหวังดีต่อเขา เพื่อให้นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก เห็นว่าครูมีความรักและห่วงใยเขาจริง ๆ ต่อจากนั้นจึงจัดกิจกรรมเพื่อแก้ไขตามสภาพปัญหาหรือความเสี่ยง เช่นพฤติกรรมการเกเรทะเลาะวิวาท ใช้สารเสพติด เล่นการพนัน หนีเรียน เป็นต้น ให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมการเข้าค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ค่านิยม

        5) มีวิธีการส่งต่อ 2 วิธี คือ การส่งต่อภายใน โดยให้ครูที่ปรึกษาเป็นผู้พิจารณาเห็นชอบส่งต่อนักเรียน ที่ครูไม่สามารถช่วยเหลือได้ ถ้ามีปัญหาด้านการเรียน พฤติกรรมไม่เหมาะสม ให้ครูผู้สอน หัวหน้าระดับ หัวหน้าฝ่าย และผู้บริหาร เป็นลำดับเพื่อดำเนินการช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ การส่งต่อภายนอก โดยส่งต่อนักเรียนที่โรงเรียนเห็นควรว่าต้องได้รับความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนไปยังหน่วยงานภายนอก ที่เป็นภาคีเครือข่ายของโรงเรียนวังจันทร์วิทยา เช่น โรงพยาบาลวังจันทร์ รับนักเรียนที่มีปัญหาด้านยาเสพติดส่งต่อให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการบำบัดหรือตามลักษณะอาการที่ต้องช่วยเหลือหรือนักจิตวิทยา ในกรณีที่นักเรียนมีปัญหาด้านสุขภาพจิต ส่งผลให้นักเรียนได้รับการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้ดีขึ้นเกิดความสำเร็จตามกระบวนการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

        6) มีการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างร้อยรัด 5 ขั้นตอน โรงเรียนได้ดำเนินการพัฒนาครูที่ปรึกษาในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มีความรู้ความเข้าใจในภารกิจหลักในการดำเนินงาน 5 องค์ประกอบ โดยจัดทำข้อมูลนักเรียนรายบุคคล จัดทำแบบคัดกรองนักเรียน จัดกิจกรรมส่งเสริมนักเรียน เช่น กิจกรรมแข่งขันวิชาการ กิจกรรมโครงงานผ่ายสื่อ ICT กิจกรรมชุมนุมตามความถนัดของนักเรียน และกิจกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน ได้แก่ กิจกรรมเยี่ยมบ้าน กิจกรรมตรวจปัสสาวะนักเรียน ชาย ม.1-ม.6 เดือนละ 1 ครั้ง และมีการเฝ้าระวังนักเรียนกลุ่มพิเศษสุ่มตรวจเป็นระยะ กิจกรรมเข้าค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยมีการประสานงานครูที่ปรึกษา หัวหน้าระดับ ครูที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบรับช่วงอย่างต่อเนื่อง

        7) มีการดำเนินงานแต่ละขั้นตอนอย่างเป็นระบบโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ให้กับนักเรียนเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิต และการคุ้มครองนักเรียนคือ กิจกรรมค่านิยม 12 ประการ กิจกรรมการช่วยเหลือด้านการเรียนสำหรับนักเรียนเรียนอ่อน ช่วยเหลือเรื่องทุนการศึกษาช่วยเหลือครอบครัวแตกแยก ขาดความอบอุ่น สร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรม ด้านความมีวินัย ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ มีกิจกรรมค่ายคุณธรรม จริยธรรม โครงการอบรมป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในโรงเรียน เพื่อช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง

       8) มีการใช้นวัตกรรมในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนมีการสร้างนวัตกรรม 7- eleven เพื่อดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบด้วยความเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนานักเรียนทุกกลุ่มตามรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม 

การมีส่วนในการพัฒนานวัตกรรม

  1. โรงเรียนมีภาคีเครือข่าย ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนร่วมกันประชุมจัดทำบันทึกข้อตกลง (MOU) และร่วมกันกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน คือ อำเภอวังจันทร์ สถานีตำรวจวังจันทร์ โรงพยาบาลวังจันทร์ เทศบาลตำบลชุมแสง และภาคีเครือข่ายผู้ปกครอง
  2. โรงเรียนจัดทำข้อมูลสารสนเทศเครือข่ายผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
  3. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ซึ่งครูที่ปรึกษารู้จริง เข้าใจ รู้จักนักเรียนได้ถูกต้องชัดเจน โดยใช้เครื่องมือทุกอย่างเช่น ระเบียนสะสม แบบประเมินพฤติกรรม (SDQ) การสัมภาษณ์ บันทึกประวัติของนักเรียน การเยี่ยมบ้าน การสังเกตและอื่น ๆ
  4. การคัดกรองซึ่งถือว่าเป็นคุณภาพสำคัญของครูที่ปรึกษา เพราะต้องใช้ทักษะความรู้พิเศษในการวิเคราะห์นักเรียน วินิจฉัยนักเรียนให้ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริง ซึ่งเปรียบเสมือนหมอที่วินิจฉัยโรคให้คนป่วย หากวินิจฉัยผิดแล้วการรักษาย่อมจะล้มเหลว ดังนั้นครูที่ปรึกษาจึงต้องมีความรู้ ทักษะ และจิตศรัทธา ในการคัดกรองนักเรียนได้อย่างถูกต้องและผลการคัดกรองหรือพฤติกรรมของนักเรียน ต้องรักษาไว้เป็นความลับ เมื่อคัดกรองนักเรียนได้แล้วย่อมสามารถหาวิธีที่จะส่งเสริมช่วยเหลือนักเรียนได้ตามความจำเป็นและความต้องการได้ถูกต้อง
  5. การจัดกิจกรรมส่งเสริมนักเรียน ครูต้องจัดกิจกรรมที่นักเรียนต้องการหรือเป็นกิจกรรมที่ค้นหาศักยภาพนักเรียนมากกว่าการอบรมทุกวัน จัดกิจกรรมส่งเสริมศักยภาพและความสามารถให้นักเรียนอย่างทั่วถึงโดยจัดตารางเรียนส่งเสริมศักยภาพให้นักเรียนทุกคนได้พัฒนาตามความถนัดของตนเอง
  6. การช่วยเหลือนักเรียนและการแก้ไขปัญหานักเรียน ซึ่งทางโรงเรียนจะให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งและถือว่าเป็นหัวใจของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพราะกระบวนการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล และการคัดกรองนักเรียนเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นที่ให้เราทราบเท่านั้น ยังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการช่วยเหลือนักเรียนเลย ดังนั้นเมื่อครูที่ปรึกษาคัดกรองนักเรียนเรียบร้อยแล้วจะต้องออกแบบแนวทางการช่วยเหลือหรือแก้ไขให้นักเรียนตามอาการของปัญหา เช่น ถ้าพบว่าครอบครัวนักเรียนมีฐานะยากจนก็ต้องให้การช่วยเหลือด้านทุนการศึกษาหรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ 
  7. การส่งต่อนักเรียน จะมี 2 ลักษณะ คือ การส่งต่อภายใน โดยให้ครูที่ปรึกษาหรือครูประจำวิชา ส่งต่อนักเรียนที่ครูไม่สามารถช่วยเหลือได้ให้ครูที่มีความสามารถรับดูแลช่วยเหลือต่อไป ได้แก่ หัวหน้าระดับ ครูแนะแนว ส่วนอีกลักษณะหนึ่ง คือ การส่งต่อภายนอก โดยส่งต่อนักเรียนที่โรงเรียนไม่สามารถช่วยเหลือได้ไปยังหน่วยงานภายนอก เช่น นักเรียนที่มีปัญหาด้านยาเสพติดก็จะส่งต่อให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการบำบัด หรือตามลักษณะอาการที่ต้องช่วยเหลือ ส่งผลให้นักเรียนได้รับการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้ดีขึ้น เกิดความสำเร็จตามกระบวนการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
  8. โรงเรียนมีวิธีการสร้างเครือข่ายที่สนับสนุนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน และจัดทำบันทึกข้อตกลง (MOU)
  9. ภาคีเครือข่ายให้การสนับสนุนการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่องโดยมี
    - อำเภอวังจันทร์จะสนับสนุนเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์ตรวจปัสสาวะหาสารเสพติดทุกเดือน เดือนละ 200ชุด - สถานีตำรวจภูธรวังจันทร์ สนับสนุนเจ้าหน้าที่ดูแลหนึ่งตำรวจหนึ่งโรงเรียนโดยมีกิจกรรมให้ความรู้นักเรียนหน้าเสาธงเดือนละ 1 ครั้ง และดูแลนักเรียนนอกโรงเรียนหลังเลิกเรียน
    - โรงพยาบาลวังจันทร์ สนับสนุนเจ้าหน้าที่ในการตรวจปัสสาวะหาสารเสพติดเดือนละ 1 ครั้งดูแลบำบัดรักษานักเรียนในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มมีปัญหา และรับส่งต่อนักเรียนเมื่อมีการบำบัดรักษา
    - เทศบาลตำบลชุมแสง สนับสนุนเงินงบประมาณปีละ 28,000 บาทในการอบรมโครงการป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติดในโรงเรียนและสนับสนุนทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีฐานะยากจน
    - สาธารณสุขอำเภอวังจันทร์ สนับสนุนเจ้าหน้าที่ในการให้ความรู้ด้านสุขภาพและการปฏิบัติตนให้ห่างไกลจากยาเสพติด
     - เครือข่ายผู้ปกครองช่วยดูแลนักเรียนในการประพฤติปฏิบัติของนักเรียนที่บ้านและชุมชน 

ผลที่เกิดจากการนำนวัตกรรมไปใช้

  • นักเรียนได้รับการดูแล ช่วยเหลือ ส่งเสริม ป้องกันและแก้ไขได้ตามศักยภาพและความต้องการ
  • ครูและบุคลากรของโรงเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเทคนิค ทักษะ กระบวนการ และความสามารถในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ
  • นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามความคาดหวังของโรงเรียน ครู ผู้ปกครองและชุมชน จากการดูแลนักเรียนของครูที่ปรึกษา
  • ประสานความร่วมมือการแก้ไขปัญหาและพัฒนานักเรียนระหว่าง บ้าน โรงเรียนและชุมชน
  • ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถของนักเรียนได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ
  • นักเรียนได้เรียนรู้กรอบแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และนำมาปรับใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้และเรียนรู้อย่างมีความสุข

ประโยชน์ของนวัตกรรมในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาคุณภาพของกลุ่มเป้าหมาย

  1. นักเรียนกลุ่มเสี่ยงของโรงเรียนมีจำนวนลดลงสอดคล้องกับเป้าหมายของสถานศึกษา โรงเรียนได้รับความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนในการส่งเสริมสนับสนุนร่วมมือร่วมใจการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้นักเรียนกลุ่มเสี่ยงในด้านยาเสพติดไม่มีและกลุ่มเสี่ยงในด้านพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ลดลงซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของสถานศึกษา 
  2. อัตราการไม่จบตามหลักสูตรตามเวลาที่กำหนดของนักเรียนลดลงซึ่งนักเรียน ซึ่งโรงเรียนวังจันทร์วิทยาได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องทำให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จบการศึกษาตามหลักสูตรครบทุกคน
  3. นักเรียนมีทักษะชีวิตตามเป้าหมายที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำหนด โรงเรียนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยให้คณะครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้เสริมทักษะความรู้ บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ทำให้นักเรียนมีทักษะชีวิตดีขึ้นและสามารถดำเนินชีวิตให้ปลอดภัยจากยาเสพติดและอบายมุขอื่นๆได้อย่างดี ฝึกนักเรียนให้มีทักษะการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  4. นักเรียนทุกคนได้รับการดูแล ช่วยเหลือ ป้องกัน คุ้มครอง แก้ไข และพัฒนาตามศักยภาพ โรงเรียนมีกระบวนการศึกษานักเรียนเป็นรายบุคคลและมีระบบการคัดกรองนักเรียนเป็นกลุ่มส่งเสริม พัฒนา กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มแก้ไขปรับปรุง มีการติดตามและดูแลนักเรียนแต่ละกลุ่มอย่างต่อเนื่องโดยกลุ่มส่งเสริมพัฒนาครูที่ปรึกษาและครูประจำวิชาจะร่วมกันส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนกลุ่มเสี่ยงมีการติดตามเป็นระยะด้วยการให้การปรึกษาหรือมอบทุนการศึกษาและช่วยเหลือแก้ไขปัญหาให้นักเรียนอย่างต่อเนื่องอีกทั้งจัดทำห้องเรียนสีขาวเพื่อให้นักเรียนดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกันทำให้นักเรียนพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างต่อเนื่องเต็มความสามารถ 
  5. นักเรียนประสบความสำเร็จได้รับการยอมรับในระดับต่างๆ นักเรียนที่จบการศึกษาสามารถเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาเพิ่มขึ้นทุกปี นักเรียนประสบความสำเร็จจากการส่งเสริมความสามารถของนักเรียนทุกกลุ่ม ทุกความสามารถ จนได้รับรางวัลทั้งทางด้านกีฬา เช่น รางวัลรองชนะเลิศการแข่งขันวอลเลย์บอลยุวชน "เอสโคล่า" อายุไม่เกิน 16 ปี ประจำปี 2560 ด้านดนตรีและศิลปะนาฎศิลป์ ได้เป็นตัวแทนระดับเขตในการแข่งขันศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 67 ด้านวิชาการ นักเรียนได้รับรางวัลเหรียญทอง การสร้าง Webpage ประเภท Text Editor ระดับภาคตะวันออก และ ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนได้รับรางวัลเหรียญเงิน ระดับภาค ในการแข่งขัน YC นักเรียนโรงเรียนวังจันทร์วิทยายังได้รับการยอมรับในการดำเนินงานห้องเรียนสีขาวปลอดสิ่งเสพติดและอบายมุข อย่างเข้มแข็ง
  6. ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการยอมรับยกย่องเชิดชูเกียรติในด้านการดูแลช่วยเหลือ นักเรียน การเสริมสร้างทักษะชีวิต และการคุ้มครองนักเรียน  ครูได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติด้านการดูแลช่วยเหลือนักเรียนดังต่อไปนี้รางวัลเชิดชูเกียรติ ป.ป.ส ดีเด่นระดับเงิน และเกียรติบัตรโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ปี 2559 รางวัลระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนประจำปี 2560 ระดับทองแดง รางวัลสิ่งแวดล้อมดีเด่น รางวัลศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จากความทุ่มเทอย่างเต็มที่ และเต็มใจ เพื่อดูแลช่วยเหลือนักเรียนทุกคนตลอดเวลา 
  7. มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน การเสริมสร้างทักษะชีวิตและการคุ้มครองนักเรียน โรงเรียนวังจันทร์วิทยาได้น้อมนำศาสตร์พระราชาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 7 หลักทรงงาน มาใช้ประกอบกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นรูปแบบการทำงานแบบ 7-Eleven ทำให้การทำงานของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีประสิทธิภาพและเป็นระบบ ตามข้อยึดถือการปฏิบัติงานร่วมกัน 

การใช้ทรัพยากรในการพัฒนานวัตกรรม

โรงเรียนวังจันทร์วิทยา ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ไม่ว่าจะเป็นบุคลกรทางการศึกษาและภาคีเครือข่าย ที่มีส่วนในการพัฒนาและใช้นวัตกรรม และงบประมาณที่ได้รับจัดสรรในการพัฒนานวัตกรรมให้คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพอย่างสูงสุด

การเรียนรู้ร่วมกันในการพัฒนานวัตกรรม

การนำ 7-Eleven Model มาใช้บริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวังจันทร์วิทยาได้มีการเรียนรู้ร่วมกันประสบการณ์ใหม่ๆ แลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธี ขั้นตอนการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ทั้งผู้บริหาร หัวหน้าระดับ ครูประจำชั้น รวมถึงบุคลากรการศึกษาต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับนักเรียนทุกคน 

ลักษณะของนวัตกรรมที่นำไปใช้


การนำนวัตกรรม 7-Elaven Model ไปใช้ในการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีข้อจำกัดคือ
 - ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษาทุกภาคส่วน ต้องเรียนรู้ หลักทรงงานทั้ง 7 ข้อ อย่างถ่องแท้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและพัฒนานักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ


การยอมรับนวัตกรรม

        การบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีคุณภาพ โดยใช้ 7-ELEVEN MODEL มีการทำงานร่วมกันกับภาคีเครือข่ายไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครอง พระ ตำรวจ ทหาร หมอ พยาบาล สาธารณสุข กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำท้องถิ่นต่าง ๆ ซึ่งทำให้การประชาสัมพันธ์เผยแพร่เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
  1. โรงเรียนวังจันทร์วิทยาได้เป็นที่ยอมรับจากชุมชนและสังคม โดยเฉพาะผู้ปกครองที่ให้ความไว้วางใจโรงเรียนวังจันทร์วิทยา นำบุตรหลานมาศึกษาเล่าเรียนกับทางโรงเรียน ทำให้โรงเรียนวังจันทร์วิทยามีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 
  2. นักเรียนโรงเรียนวังจันทร์วิทยาประสบความสำเร็จได้รับการยอมรับในระดับต่าง ๆ นักเรียนที่จบการศึกษาสามารถเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาเพิ่มขึ้นทุกปี นักเรียนประสบความสำเร็จจากการส่งเสริมความสามารถของนักเรียนทุกกลุ่ม ทุกความสามารถ จนได้รับรางวัลทั้งทางด้านกีฬา เช่น รางวัลรองชนะเลิศการแข่งขันวอลเลย์บอลยุวชน "เอสโคล่า" อายุไม่เกิน 16 ปี ประจำปี 2560 ด้านดนตรีและศิลปะนาฎศิลป์ ได้เป็นตัวแทนระดับเขตในการแข่งขันศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 67 ด้านวิชาการ นักเรียนได้รับรางวัลเหรียญทอง การสร้าง Webpage ประเภท Text Editor ระดับภาคตะวันออก และ ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนได้รับรางวัลเหรียญเงิน ระดับภาค ในการแข่งขัน YC นักเรียนโรงเรียนวังจันทร์วิทยายังได้รับการยอมรับในการดำเนินงานห้องเรียนสีขาวปลอดสิ่งเสพติดและอบายมุข อย่างเข้มแข็ง
  3. ครูโรงเรียนวังจันทร์วิทยาได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติด้านการดูแลช่วยเหลือนักเรียนดังต่อไปนี้รางวัลเชิดชูเกียรติ ป.ป.ส ดีเด่นระดับเงิน และเกียรติบัตรโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ปี 2559 รางวัลระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประจำปี 2560 ระดับทองแดง รางวัลสิ่งแวดล้อมดีเด่น รางวัลศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จากความทุ่มเทอย่างเต็มที่ และเต็มใจ เพื่อดูแลช่วยเหลือนักเรียนทุกคนตลอดเวลา