ยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนวังจันทร์วิทยา

ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาให้มีระบบการบริหารจัดการที่ดีในโรงเรียน
มาตรการที่ 1 พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการที่ดี
มาตรการที่ 2 ส่งเสริมประชาธิปไตยและระบบธรรมาภิบาลในโรงเรียน
มาตรการที่ 3 สร้างบรรยากาศ สิ่งแวดล้อมให้ร่มรื่น สวยงาม ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
มาตรการที่ 4 เพิ่มระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาสูงขึ้นเป็นที่ยอมรับของชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง
ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
มาตรการที่ 1 พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ยืดหยุ่น เน้นบูรณาการการ เรียนรู้และ การดำรงชีวิต
มาตรการที่ 2 ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสุนทรียภาพด้านดนตรี กีฬา และศิลปะ
มาตรการที่ 3 ส่งเสริมผู้เรียนให้มีนิสัยรักการอ่าน
มาตรการที่ 4 ส่งเสริมผู้เรียนให้มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์
มาตรการที่ 5 ส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยี ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
มาตรการที่ 6 สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความสุข
มาตรการที่ 7 ส่งเสริมให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าและภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น
มาตรการที่ 8 ส่งเสริมการจัดทำหลักสูตรบูรณาการตามแนววิถีพุทธ
มาตรการที่ 9 ส่งเสริมให้ผู้เรียนรักษาสุขภาพ อนามัยและความปลอดภัยในการดำรงชีวิต
มาตรการที่ 10 ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะในการดำรงชีวิต มีคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์
มาตรการที่ 11 ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
ยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างเสริมศักยภาพบุคลากรให้เป็นมืออาชีพ
มาตรการที่ 1 ส่งเสริมให้ครูเป็นครูมืออาชีพ
มาตรการที่ 2 ส่งเสริมบุคลากรให้มีวิถีชีวิต สอดคล้องกับหลักธรรมตามแนวทางวิถีพุทธ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 เพิ่มสมรรถนะโรงเรียนในการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ และการสื่อสาร
มาตรการที่ 1 เพิ่มศักยภาพในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ระดมสรรพกำลัง สร้างระบบเครือข่าย ภาคี อุปถัมภ์ งบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษา
มาตรการที่ 1 ระดมทรัพยากรทางการศึกษา
มาตรการที่ 2 สร้างภาคีเครือข่ายให้เข้มแข็ง
ยุทธศาสตร์ที่ 6 ส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
มาตรการที่ 1 เพิ่มระดับคุณภาพมาตรฐานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามแผนปฏิบัติการประจำปี

1. การบริหารจัดการโรงเรียน
โรงเรียนวังจันทร์วิทยา แบ่งโครงสร้างการบริหารงานเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารทั่วไป อาศัยหลักการ “ทุกภาคส่วนในสังคมมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการจัดการศึกษาในลักษณะการกระจายอำนาจ หรือรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ( School Base Management : SBM )” ผู้บริหารยึดหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม (Participative Management) ใช้คำย่อว่า PM โดยประกอบด้วย ความร่วมมือของทุกคนในโรงเรียนจนบรรลุวัตถุประสงค์ การประสานงาน และความรับผิดชอบในภาระงานที่รับมอบหมายจนสำเร็จ และมีเทคนิคการบริหารโดยใช้ “WANGCHAN MODEL”เป็นรูปแบบการบริหารและทำงานที่ประสบความสำเร็จ
2. วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย อัตลักษณ์ และเอกลักษณ์ของโรงเรียนวังจันทร์วิทยา
วิสัยทัศน์ (VISION)
โรงเรียนวังจันทร์วิทยาสร้างสรรค์คนดีมีวินัย ชุมชนร่วมใจ ก้าวไกลเทคโนโลยี เป็นเลิศทางวิชาการ สืบสานความเป็นไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อมพร้อมดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง พันธกิจ ( MISSION)
1. พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะชีวิต คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมอันพึงประสงค์
2. พัฒนาระบบด้านการบริหาร การจัดการเรียนการสอนให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ การประกันคุณภาพ
3. พัฒนาและส่งเสริมการนำเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหาร และการจัดการเรียนการสอน
4. พัฒนาและส่งเสริมนักเรียนให้มีความเป็นเลิศทุกด้าน
5. พัฒนาและส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะด้านการใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
6. พัฒนาและส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนมีความรู้ ความสามารถด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬา
7. ส่งเสริมการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครองชุมชนและองค์กรต่างๆ
8. ส่งเสริมให้ผู้เรียนใส่ใจสิ่งแวดล้อม และดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เป้าหมาย ( Goal )
1. นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และระเบียบวินัย สามารถดำรงชีวิต อยู่ในสังคมได้อย่าง มีความสุข
2. นักเรียนมีความรู้ความสามารถเต็มตามศักยภาพของตนเอง
3. นักเรียนมีความรู้ความสามารถก้าวทันเทคโนโลยีและรู้จักการนำไปใช้ได้อย่าง เหมาะสม
4. นักเรียนมีความรู้ความสามารถทันเหตุการณ์และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
5. นักเรียนมีความรู้และทักษะ ในการใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่าง เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
6. นักเรียนมีความรู้ความสามารถด้านศิลปะ ดนตรี กีฬาและอาชีพเต็มตามศักยภาพ
7. นักเรียนดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างเหมาะสม
อัตลักษณ์ของสถานศึกษา ผู้เรียนมีวินัย
เอกลักษณ์ของสถานศึกษา ผู้เรียนมีสุนทรียภาพด้านศิลปะ ดนตรีและกีฬา
3. แนวทางการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
1) จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญส่งเสริมพัฒนาในทุกด้าน
2) จัดกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียน เป็นผู้สร้างพื้นฐานความรู้ด้วยตนเองมีความรอบรู้ รอบตัว มีทักษะสามารถนำไปบูรณาการใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อประสบผลสำเร็จมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถประกอบอาชีพโดยสุจริตในอนาคตข้างหน้า
3) จัดอบรมผู้เรียนให้เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และสุขนิสัยที่ดี มีความรัก ความเมตตา รับใช้ และแบ่งปันอยู่ร่วมในสังคมอย่างมีสันติกับผู้อื่น
4) สอดแทรกในกระบวนการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
5) จัดกิจกรรมส่งเสริม ที่ทำให้นักเรียนใฝ่รู้ใฝ่เรียน
6) จัดกิจกรรม ส่งเสริมให้บุคลากรมีคุณภาพในการจัดกิจกรรมการสอนที่หลากหลายและ สร้างสื่อการสอนอย่างสร้างสรรค์
7) ใช้เทคโนโลยีในการบริหารการจัดการงานฝ่ายต่าง ๆ และพัฒนาผลลัพธ์ที่ได้
8) ส่งเสริมผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ
9) จัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนตระหนักถึงบทบาท หน้าที่ของตนเองต่อสังคม และการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
10) จัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักคุณค่าและรักษาดำรงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมไทย รวมถึงประเพณีในท้องถิ่น และของประเทศชาติอย่างภาคภูมิใจ
4. กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
กลยุทธ์ที่ 1 สร้างความเสมอภาคและโอกาสให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมี คุณภาพ
กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนากระบวนการให้บริการทางการศึกษา โดยบูรณาการหลักสูตร สื่อ แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย และภูมิปัญญาท้องถิ่น
กลยุทธ์ที่ 3 ส่งเสริมและพัฒนาครู นวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลทางการศึกษา
กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษา ทั้งระบบโดยมุ่งสัมฤทธิผลที่เกิด กับผู้เรียนเป็นสำคัญ
กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาสถานศึกษาให้มีอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ และมาตรการส่งเสริมตามปรัชญา วิสัยทัศน์ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา และได้รับการยอมรับจากองค์กรภายนอกสถานศึกษา
5. การดำเนินงานตามกลยุทธ์ของสถานศึกษา