แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน

การเคลื่อนที่ของไส้เดือนดิน

การเคลื่อนที่ของไส้เดือนดิน
ไส้เดือนดินเป็นสัตว์ที่มีลำตัวอ่อนนิ่ม และมีลักษณะเป็นปล้อง ๆ ตลอดลำตัว การเคลื่อนที่ของไส้เดือนดินอาศัยโครงสร้างดังนี้
1. กล้ามเนื้อ 2 ชุด ประกอบด้วยกล้ามเนื้อวง (circular muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่เรียงตัวเป็นวงรอบลำตัว และกล้ามเนื้อตามยาว (longitudinal muscle) ที่มีการจัดเรียงตัวตามยาวขนานกับลำตัว กล้ามเนื้อทั้ง 2 ชุดจะทำงานในแบบสภาวะตรงกันข้าม (antagonism)

2. เดือย (setae) เป็นโครงสร้างเล็ก ๆ ที่ยื่นออกมาจากผนังลำตัวของแต่ละปล้อง ทำหน้าที่ช่วยบังคับทิศทางในการเคลื่อนที่โดยเดือยจะจิกดินไว้ขณะมีการเคลื่อนที่


รูปแสดงโครงสร้างภายในของไส้เดือนดิน
(ที่มา: http://www.kingstonwormfarm.com/red_worm_101)

ไส้เดือนดินเคลื่อนที่โดยจะใช้เดือยส่วนท้ายจิกดินไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ส่วนท้ายเคลื่อนที่ ขณะเดียวกันกล้ามเนื้อวงจะหดตัว กล้ามเนื้อตามยาวคลายตัว ปล้องของลำตัวจะยืดยาวออก ทำให้ลำตัวเคลื่อนไปข้างหน้าจากนั้นเดือยที่ปล้องส่วนหน้าจะจิกดินไว้ กล้ามเนื้อวงคลายตัว กล้ามเนื้อตามยาวหดตัว ทำให้ปล้องโป่งออกดึงส่วนท้ายของลำตัวให้เคลื่อนไปข้างหน้า การทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อวงและกล้ามเนื้อตามยาวโดยการหดและคลายตัวต่อเนื่องกันเป็นระลอกคลื่นทางด้านหน้ามาส่วนท้ายของลำตัว ทำให้ไส้เดือนดินสามารถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้


รูปแสดงการเคลื่อนที่ของไส้เดือนดิน
(ที่มา: http://shsapbiop3-taxa.wikispaces.com/Animalia-annelida)


ภาพเคลื่อนไหวแสดงการเคลื่อนที่ของไส้เดือนดิน
(ที่มา: http://www.youtube.com/watch?v=nzSvNNRwGnc&feature=related)]

เอกสารอ้างอิง: พจน์ แสงมณี และขวัญสุดา ประวะภูโต. (2552). Compact ชีววิทยา ม. 5 เล่ม 3,หน้า 10


แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียน

< กลับหน้าหลัก>