แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน

การเคลื่อนที่ของสัตว์เลื้อยคลาน

สัตว์เลื้อยคลานจำพวก งู กิ้งก่า จิ้งจก มีการเคลื่อนที่ในลักษณะของรูปตัวเอส (S) สัตว์เลื้อยคลานที่ไม่มีขา เช่น งู เคลื่อนที่โดยอาศัยการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อทำงานร่วมกับโครงกระดูก เกิดการงอตัวสลับระหว่างซ้ายและขวา เรียกการเคลื่อนที่แบบนี้ว่า การเลื้อย ส่วนสัตว์เลื้อยคลานที่มีขา เช่น กิ้งก่า จิ้งจก ตุ๊กแก เคลื่อนที่โดยการก้าวขาไม่พร้อมกันระหว่างขาหน้าและขาหลัง  ทำให้ลำตัวเกิดการงอโค้งไปมาในลักษณะรูปตัวเอส (S) การงอขาและการเหยียดขาเมื่อก้าวขาเดินเกิดการทำงานร่วมกันแบบสภาวะตรงกันข้ามของกล้ามเนื้อเฟล็กเซอร์และกล้ามเนื้อเอ็กเทนเซอร์ที่ยึดติดกับโครงกระดูก


รูปแสดงการเคลื่อนที่ในลักษณะรูปตัวเอส (S) ของงูและสัตว์เลื้อยคลานที่มีขา
(ที่มา: http://www.humboldt.net/~tracker/snake.html)
(ที่มา: http://watchawan.blogspot.com/2010/04/flipper-flipper-web-1-17-web-keel-or.html)


ภาพเคลื่อนไหวแสดงการเคลื่อนที่ของงู
(ที่มา: http://www.youtube.com/watch?v=02hP37WX-GY)


ภาพเคลื่อนไหวแสดงการเคลื่อนที่ของสัตว์เลื้อยคลานที่มีขา
(ที่มา: http://www.youtube.com/watch?v=hSrFjUeejvs&feature=related)

การเคลื่อนที่ของเต่า ถ้าเป็นเต่าบกมีการเคลื่อนที่โดยใช้ขา ที่ขามีนิ้วเท้าช่วยในการเคลื่อนที่ แต่ถ้าเป็นเต่าที่อาศัยอยู่ในน้ำ ขาทั้งหมดจะถูกเปลี่ยนเป็นใบพาย เรียกกว่า ฟลิปเปอร์ (flipper) ช่วยในการว่ายน้ำทำให้เต่าสามารถเคลื่อนที่ในน้ำได้ เช่นเดียวกับแมวน้ำและสิงโตทะเลที่ใช้ฟลิปเปอร์ช่วยในการเคลื่อนที่ในน้ำ


รูปแสดงขาที่มีนิ้วเท้าของเต่าบก
(ที่มา: http://webboard.yenta4.com/topic/280541?p=2)


ภาพเคลื่อนไหวแสดงการเคลื่อนที่ของเต่าบก
(ที่มา: http://www.youtube.com/watch?v=OBjddJJCm2s&feature=related)


รูปแสดงฟลิปเปอร์ของเต่าที่อาศัยอยู่ในน้ำ
(ที่มา: http://www.weloveayutthaya.com/index.aspx?ContentID=ContentID-110511163628770)


ภาพเคลื่อนไหวแสดงการเคลื่อนที่ของเต่าที่อาศัยอยู่ในน้ำ
(ที่มา: http://www.youtube.com/watch?v=qC5mHQMn79Y)

เอกสารอ้างอิง: พจน์ แสงมณี และขวัญสุดา ประวะภูโต. (2552). Compact ชีววิทยา ม. 5 เล่ม 3,หน้า 15


แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียน

< กลับหน้าหลัก>